วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ระบบตลาดสิ่งแวดล้อมทางการตลาด

          

ระบบตลาดสิ่งแวดล้อมทางการตลาด

ระบบตลาด
           ดังเป็นที่ทราบกันอยู่ว่า การแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลสองกลุ่มในโครงสร้างขนาดใหญ่ คือ ระบบการตลาด ดังนั้น ประสิทธิภาพการตลาดของพนักงานขายและผุ้ซื้อ จึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจในองค์ประกอบสำคัญ ลักษณะการทำงาน และความสัมพันธ์ที่ทำให้เป็นระบบการตลาด
ระบบการตลาด คือ กลุ่มของสถาบันที่สำคัญและการทำงานที่เชื่อมโยงระหว่างองค์การกับตลาด
สมมุติว่า บริษัทแห่งหนึ่ง ผลิตสินค้าชนิดเดียว สำหรับตลาดแห่งหนึ่ง องค์ประกอบสำคัญในระบบตลาดคือ บริษัทและตลาด องค์ประกอบทั้งสองนั้น เชื่อมต่อกันด้วยการเคลื่อนย้ายของสิ่งสำคัญ ประการคือ
          1.สินค้าและบริการ
          2.การสื่อสารไปสู่ตลาด
          3.จำนวนเงินรับที่มาสู่บริษัท
          4.ข้อมูลที่บริษัทได้รับกลับมา
          ระบบการตลาดอย่างง่าย อาจรวมความถึงระบบการตลาดแบบไม่หวังผลกำไร เช่น มูลนิธิสายใจไทย ให้ข้อมูลกับประชาชนเกี่ยวกับความช่อยเหลือที่ควรให้แก่พวกตำรวจ และทหารชายแดน พยายามเน็นให้ประชาขนได้แสดงความรักชาติ สิ่งที่ได้รับคือมาก็คือ เงินบริจาคและอาสาสมัครจากกลุ่มประชาชน เป็นต้น
ระบบการตลาดที่ดำเนินอยุ่นั้น ไม่ใช่มีองค์ประกอบแต่บริษัทและตลาดเป้าหมายเท่านั้น องค์ประกอบที่มีเพิ่มขึ้น มีผลต่อความสำเร็จที่จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จที่จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จในการบริการลูกค้า องค์ประกอบนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน
          1.ระบบแก่นการตลาด – ประกอบด้วย กลุ่มผู้จำหน่ายวัสดุ (suppliers) ซึ่งจำหน่ายวัสดุให้แก่บริษัท และคู่แข่งขันของบริษัท เพือที่จะนำไปผลิตสินค้าและส่งผ่านคนกลาง เพื่อนำไปสู่ตลาดผู้บริโภค
          2.กลุ่มสาธารณชน (Publics) หมายถึงบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบแก่นการตลาด บุคคลเหล่านี้ ได้แก่ สถาบันการเงิน ผู้สือข่าว องค์การรัฐบาล กลุ่มชนที่สนใจ และประชาชนทั่วไป เป็นต้น
          3.สภาวะแวดล้อมมหภาค (Macroenvironment) ประกอบด้วย ประชากรศาสตร์ เศรษฐกิจ กฎหมายและการเมือง เทคโนโลยีและวัฒนธรรม

ระบบแก่นการตลาด (The core marketing systems)
              สถาบันคนกลาง (Marketing intermediaries) คือสถาบันที่อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผุ้ผลิต จำหน่ายสินค้าไปสู่ตลาดชั้นสุดท้าย สถาบันคนกลางประกอบด้วย พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก ตัวแทน นายหน้า บริษัทขนส่ง โกดังเก็บสินค้า
สถาบันคนกลางมีห้าที่อย่างน้อย 4 ประการ
           1.เสาะหาตลาด (Market search) ผู้ขายต้องแสวงหาผุ้ซื้อที่เป็นไปได้ และผุ้ซื้อก็ต้องแสวงหาผ้าขาย ซึ่งงานนี้ สถาบันคนกลางสามารถที่จะให้ความช่วยเหลือได้ เช่น บริษัทผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ผลิตเครืองคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา บริษัททราบดีว่า ประชาขนส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นตลาดเป้าหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ จึงได้จัดให้บริษัทวิจัยเพือนจะได้ทราบว่าใครคือตลาดเป้าหมาย และอาศัยสถาบันคนกลางในการเสาะหาตลาดนั้น
           2.การแจกจ่ายตัวสินค้า (Physical Distribution) หน้าที่ที่ต้องกระทำในการเคลือนย้ายสินค้าประกอบด้วย สถานที่เก็บสินค้า การักษาสินค้า และการขนส่ง
           3.การสื่อสาร (Communication) การที่จะเกิดการแลกเปลี่ยนได้ บุคคลผ่ายต่าง ๆ ต้องมีการส่ง และรับข้อมูล ผุ้ขายก็พยายามหาวิธีที่จะบอกกล่าวแก่ผู้ซื้อที่เป็นไปได้เกี่ยวกับสินค้าที่มีอยู่ สื่อสำหรับการสื่อสาร ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ วิทยุ ป้ายโฆษณา และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น สถาบันที่ช่วยพนักงานขายในการใช้สือสารอย่างมีประสิทธิภาพ คือ บริษัทตัวแทนโฆษณา และหรือบริษัทประชาสัมพันธ์
           4.การต่อรองและโอนกรรมสิทธ็ (Negotiation and title transfer) คนกลางที่ให้ความช่วยเหลือในการต่อรอง และโอนกรรมสิทธิ้สินค้า รวมถึงสถาบันให้สินเชื่อ สถาบันกฎหมาย พ่อค้าคนกลางและนายหน้าคนกลาง พ่อค้ากลาง คือคนกลาง เช่น ตัวแทนผู้ผลิต นายหน้าซึ่งช่วยผู้ขายในการหาผุ้ซื้อต่อรอง และโอนกรรมสิทธ์สินค้า โดยที่ตนเองไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้น ๆ
หน้าที่อื่น ๆ ของสถาบันคนกลางที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าได้แก่ การจัดมาตรฐานสินค้า จัดอันดับสินค้า และตั้งชื่อยี่ห้อสินค้า จึงเห็นได้ว่า การที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนนี้เป็นงานที่หนักไม่น้อยเลย และงานเหล่านี้ก็ทำรวมกัน โดยผุ้ซื้อ ผู้ขาย และสถาบันคนกลางการตลาด ปกติผุ้ซื้อมักจะต้องการให้งานเหล่านี้มีผุ้ชายและคนกลางรับผิดชอบแต่ก็จะทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ผุ้ซื้อจึงรับทำหน้าที่บางอย่าง เช่น การเสาะหาตลาด การเดินทาง แบะการสื่อสารเพือนลดต้นทุนของเขา
ผู้จำหน่าย(Suppliers) เป็นบุคคลสำคัญในระบบแก่นการตลาด บริษัทเป็นหลักสำคัญในการเปลี่ยนวัตถุดิบ เครื่องจักร คนงาน และเงินทุนให้เป็นสินค้าที่มีประโยชน์ แหล่งทรัพยากรจากผู้จำหน่ายวัสดุ โดยการเสาะหาตลาด การแจกจ่ายตัวสินค้า การสื่อสาร การต่อรองและการโอนกรรมสิทธิ์ การซื้อวัสดุของบริษัทจะได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ทางการตลาดกับผู้จำหน่ายวัสดุ บางครั้งผู้ต้องกลายเป็นนักการตลาด ถ้าเกิดปัญหาการขาดแคลนวัสดุ ต้องทำการเสาะหาตลาด เสนอราคาที่สูงกว่า ยอมรับบริการที่น้อย และจูงใจให้ผู้จำหน่ายวัสดุเห็นถึงความจำเป็นของผู้ซื้อ
ผู้จำหน่ายวัสดุ ผู้ผลิต คนกลางการตลาด และผู้บริโภคคนสุดท้าย รวมกันเป็นช่องทางการตลาด ช่องทางเริ่มจากวัตถุดิบที่พบ แล้วมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตผ้าเป็นลูกค้าผู้ผลิตไนล่อน ผู้ผลิตเสื้อผ้าเป็นลูกค้าผู้ผลิตผ้าและผู้ซื้อเป็นลูกค้าผู้ค้าปลีก
Cr.http://free4marketing.blogspot.com/2010/12/blog-post.html
สิ่งแวดล้อมทางการตลาด (The marketing environment)

         หมายถึง บุคคลหรือพลังผลักดันที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการบริหารการตลาด ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้หรือควบคุมได้เพียงบางส่วน ดังนั้นบริษัทที่จะสามารถประสบความสำเร็จทางการแข่งขันได้นั้น จะต้องคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ และคอยปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

         หมายถึง บุคคลหรือพลังผลักดันที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการบริหารการตลาด ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้หรือควบคุมได้เพียงบางส่วน ดังนั้นบริษัทที่จะสามารถประสบความสำเร็จทางการแข่งขันได้นั้น จะต้องคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ และคอยปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

         สิ่งแวดล้อมทางการตลาด แบ่งเป็น ประเภทใหญ่ ๆ คือ สิ่งแวดล้อมภายนอก (external environment) และสิ่งแวดล้อมภายใน (

         สิ่งแวดล้อมทางการตลาด แบ่งเป็น ประเภทใหญ่ ๆ คือ สิ่งแวดล้อมภายนอก (external environment) และสิ่งแวดล้อมภายใน (internal environment) 
         สิ่งแวดล้อมภายนอก (external environment) คือ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกองค์กร และองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ แบ่งออกเป็นประเภท คือ

สิ่งแวดล้อมระดับจุลภาค (microenvironment) 

         เป็นพลังผลักดันที่อยู่ใกล้บริษัท และส่งผลต่อความสามารถในการดำเนินงานทางการตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า แต่จะกระทบเฉพาะกิจการแต่ละแห่งเท่านั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบทั้งอุตสาหกรรม ประกอบด้วย
         เป็นพลังผลักดันที่อยู่ใกล้บริษัท และส่งผลต่อความสามารถในการดำเนินงานทางการตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า แต่จะกระทบเฉพาะกิจการแต่ละแห่งเท่านั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบทั้งอุตสาหกรรม ประกอบด้วย
        
          1. ผู้ป้อนปัจจัยการผลิต (suppliers) 

              คือ     ผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นแก่บริษัท ในการนำไปผลิตเป็นสินค้าหรือบริการ โดยนักการตลาดจะต้องคอยตรวจสอบแนวโน้มราคาของปัจจัยการผลิตอยู่เสมอ เพราะถ้าหากราคาของปัจจัยการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ก็จะส่งผลต่อราคาขายของสินค้าให้สูงตามไปด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบให้ยอดขายลดลงได้
               คือ    ผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นแก่บริษัท ในการนำไปผลิตเป็นสินค้าหรือบริการ โดยนักการตลาดจะต้องคอยตรวจสอบแนวโน้มราคาของปัจจัยการผลิตอยู่เสมอ เพราะถ้าหากราคาของปัจจัยการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ก็จะส่งผลต่อราคาขายของสินค้าให้สูงตามไปด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบให้ยอดขายลดลงได้

          2. คนกลางทางการตลาด (marketing intermediaries)

                หมายถึง บริษัทหรือองค์กรที่ช่วยในการสนับสนุน การขาย และการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค ประกอบด้วย
                2.1 ผู้ขายต่อ (resellers) หมายถึง บริษัทในช่องทางการกระจายสินค้าที่ช่วยในการหาลูกค้าและขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภค ประกอบด้วย ผู้ค้าส่ง (wholesalers) และผู้ค้าปลีก 
                2.1 ผู้ขายต่อ (resellers) หมายถึง บริษัทในช่องทางการกระจายสินค้าที่ช่วยในการหาลูกค้าและขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภค ประกอบด้วย ผู้ค้าส่ง (wholesalers) และผู้ค้าปลีก (retailers)
                2.2 บริษัทกระจายสินค้า (physical distribution firms) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริษัทในการเก็บรักษาและเคลื่อนย้ายสินค้า จากแหล่งผลิตไปยังจุดหมายปลายทาง ประกอบด้วยคลังสินค้า และบริษัทขนส่งสินค้า โดยในการคัดเลือกบริษัทเหล่านี้จะต้องคำนึงถึง
                2.2 บริษัทกระจายสินค้า (physical distribution firms) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริษัทในการเก็บรักษาและเคลื่อนย้ายสินค้า จากแหล่งผลิตไปยังจุดหมายปลายทาง ประกอบด้วยคลังสินค้า และบริษัทขนส่งสินค้า โดยในการคัดเลือกบริษัทเหล่านี้จะต้องคำนึงถึง                    - ต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าและการขนส่ง (cost)
                    - รูปแบบของการขนส่ง (
                    - รูปแบบของการขนส่ง (delivery)
                    - ความรวดเร็ว (
                    - ความรวดเร็ว (speed)
                    - ความปลอดภัย
                    - ความปลอดภัย (safety)

               2.3 หน่วยงานให้บริการทางการตลาด (marketing services agencies) หมายถึง บริษัทหรือหน่วยงานที่ให้บริการทางการตลาดแก่บริษัท เช่น บริษัทรับทำวิจัย บริษัทตัวแทนโฆษณา บริษัทผลิตสื่อ หรือบริษัทที่ปรึกษาทางการตลาด เป็นต้น หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบริษัทเหล่านี้ ได้แก่
                2.3 หน่วยงานให้บริการทางการตลาด (marketing services agencies) หมายถึง บริษัทหรือหน่วยงานที่ให้บริการทางการตลาดแก่บริษัท เช่น บริษัทรับทำวิจัย บริษัทตัวแทนโฆษณา บริษัทผลิตสื่อ หรือบริษัทที่ปรึกษาทางการตลาด เป็นต้น หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบริษัทเหล่านี้ ได้แก่
                    - ความคิดสร้างสรรค์ (
                    - ความคิดสร้างสรรค์ (creativity)
                    - คุณภาพ (
                    - คุณภาพ (quality)
                    - การให้บริการ (
                    - การให้บริการ (service)
                    - ราคา (
                    - ราคา (price)

               2.4 คนกลางทางการเงิน (financial intermediaries) หมายถึง บริษัทที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยทำธุรกรรมทางการเงินหรือประกันความเสี่ยงในการซื้อขายสินค้า เช่น ธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนบริษัทประกัน เป็นต้น
                2.4 คนกลางทางการเงิน (financial intermediaries) หมายถึง บริษัทที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยทำธุรกรรมทางการเงินหรือประกันความเสี่ยงในการซื้อขายสินค้า เช่น ธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนบริษัทประกัน เป็นต้น
    
              3. ลูกค้า (customers)  
         หมายถึง ลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัท โดยนักการตลาดจะต้องทำการศึกษาตลาดลูกค้าอย่างใกล้ชิด เนื่องจากตลาดแต่ละประเภทก็จะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน ตลาดลูกค้า (Customer market) สามารถแบ่งออก เป็น ประเภท คือ
         หมายถึง ลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัท โดยนักการตลาดจะต้องทำการศึกษาตลาดลูกค้าอย่างใกล้ชิด เนื่องจากตลาดแต่ละประเภทก็จะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน ตลาดลูกค้า (Customer market) สามารถแบ่งออก เป็น ประเภท คือ
               3.1 ตลาดผู้บริโภค (consumer markets) หมายถึง บุคคลหรือครัวเรือนที่ซื้อสินค้าหรือบริการไปเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลตัวอย่างเช่น ลิลลี่ซื้อข้าวสารเพื่อไปบริโภคในครอบครัว เป็นต้น
               3.1 ตลาดผู้บริโภค (consumer markets) หมายถึง บุคคลหรือครัวเรือนที่ซื้อสินค้าหรือบริการไปเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลตัวอย่างเช่น ลิลลี่ซื้อข้าวสารเพื่อไปบริโภคในครอบครัว เป็นต้น
               3.2 ตลาดธุรกิจ (business markets) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อนำไปผลิตต่อ หรือนำไปใช้ในกระบวนการผลิต ตัวอย่างเช่น ลิลลี่ซื้อข้าวสารเพื่อทำข้าวผัดขายที่ตลาดนัดเป็นต้น
               3.2 ตลาดธุรกิจ (business markets) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อนำไปผลิตต่อ หรือนำไปใช้ในกระบวนการผลิต ตัวอย่างเช่น ลิลลี่ซื้อข้าวสารเพื่อทำข้าวผัดขายที่ตลาดนัดเป็นต้น 
               3.3 ตลาดผู้ขายต่อ (reseller markets) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อขายต่อ ตัวอย่างเช่น ลิลลี่ซื้อข้าวสารเพื่อนำไปขายต่อที่ร้านค้าหน้าบ้าน เป็นต้น
               3.3 ตลาดผู้ขายต่อ (reseller markets) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อขายต่อ ตัวอย่างเช่น ลิลลี่ซื้อข้าวสารเพื่อนำไปขายต่อที่ร้านค้าหน้าบ้าน เป็นต้น 
               3.4 ตลาดรัฐบาล (government markets) หมายถึง หน่วยงานของรัฐที่ซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อนำไปให้บริการแก่สาธารณชน ตัวอย่างเช่น รัฐบาลสั่งซื้อข้าวสารจำนวน 20 กระสอบ เพื่อนำไปบริจาคแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ เป็นต้น
               3.4 ตลาดรัฐบาล (government markets) หมายถึง หน่วยงานของรัฐที่ซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อนำไปให้บริการแก่สาธารณชน ตัวอย่างเช่น รัฐบาลสั่งซื้อข้าวสารจำนวน 20 กระสอบ เพื่อนำไปบริจาคแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ เป็นต้น

          

          4. กลุ่มสาธารณชน (publics) 

               หมายถึง กลุ่มที่มีความสนใจหรือมีผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินงาน และการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร เช่น ผู้ถือหุ้น สื่อมวลชน รัฐบาล ชุมชนในท้องถิ่น กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
               หมายถึง กลุ่มที่มีความสนใจหรือมีผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินงาน และการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร เช่น ผู้ถือหุ้น สื่อมวลชน รัฐบาล ชุมชนในท้องถิ่น กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น           5. คู่แข่งขัน (competitors) 

               ตามหลักแนวความคิดทางการตลาด (The marketing concept) ที่ว่าบริษัทจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องสามารถตอบสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจได้เหนือกว่าคู่แข่งขัน ดังนั้นนักการตลาดจึงต้องทำมากกว่าการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเป้าหมายแต่ต้องสามารถวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในจิตใจของลูกค้าได้เหนือกว่าคู่แข่งขัน ด้วยเหตุนี้นักการตลาดจึงมีความจำเป็นต้องทำการศึกษาถึงคู่แข่งขันที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และมีขนาดที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ประเภทของคู่แข่งขัน แบ่งออกเป็น ประเภท คือ
               ตามหลักแนวความคิดทางการตลาด (The marketing concept) ที่ว่าบริษัทจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องสามารถตอบสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจได้เหนือกว่าคู่แข่งขัน ดังนั้นนักการตลาดจึงต้องทำมากกว่าการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเป้าหมายแต่ต้องสามารถวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในจิตใจของลูกค้าได้เหนือกว่าคู่แข่งขัน ด้วยเหตุนี้นักการตลาดจึงมีความจำเป็นต้องทำการศึกษาถึงคู่แข่งขันที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และมีขนาดที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ประเภทของคู่แข่งขัน แบ่งออกเป็น ประเภท คือ 
               5.1 คู่แข่งขันทางตรง เป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ เช่น คู่แข่งขันทางตรงของเนสกาแฟคือ มอคโคนา เขาช่อง
               5.1 คู่แข่งขันทางตรง เป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ เช่น คู่แข่งขันทางตรงของเนสกาแฟคือ มอคโคนา เขาช่อง
               5.2 คู่แข่งขันทางอ้อม เป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทดแทนกันได้แต่ไม่สมบูรณ์ เช่น คู่แข่งขันทางอ้อมของเนสกาแฟ คือ เครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นชา น้ำผลไม้ น้ำอัดลม เป็นต้น
               5.2 คู่แข่งขันทางอ้อม เป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทดแทนกันได้แต่ไม่สมบูรณ์ เช่น คู่แข่งขันทางอ้อมของเนสกาแฟ คือ เครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นชา น้ำผลไม้ น้ำอัดลม เป็นต้น
               5.3 ทุกบริษัทเป็นคู่แข่งขัน เพราะถือว่ามาแย่งอำนาจซื้อของผู้บริโภคที่มีอยู่จำกัด
               5.3 ทุกบริษัทเป็นคู่แข่งขัน เพราะถือว่ามาแย่งอำนาจซื้อของผู้บริโภคที่มีอยู่จำกัด 

Cr.https://sites.google.com/site/groupmarketingsites/home/sing-waedlxm-thangkar-tlad
Cr.นางสาวน้องทราย ช้างพลายเพชร สาขา การตลาด ปี 3 รหัส 023

1 ความคิดเห็น:

  1. คุณต้องการสินเชื่อเพื่อเริ่มต้นธุรกิจหรือไม่? ฉันเป็นกรรมการผู้จัดการของ บริษัท George Anderson เราขอเสนอเงินกู้เงินกู้ บริษัท สินเชื่อบุคคลสินเชื่อสำหรับนักเรียนและเงินกู้ธุรกิจหากคุณสนใจเงินกู้นี้คุณต้องส่งอีเมลถึงเราทางอีเมล :(georgeanderson.loanfirm255@gmail.com)

    ข้อเสนอเงินกู้.

    ตอบลบ